ไรแดง ต้นไม้ – ใบเสีย การกำจัด และป้องกัน

บทความนี้ขอรวบรวมรูปใบของ ต้นไม้ ที่เกิดจากการเข้าทำลายของ ไรแดง มาให้ทุกท่านชมนะคะ เผื่อใกล้เคียงอาการที่เกิดขึ้นกับ ต้นไม้ ของตัวเอง จะได้สามารถรับมือได้ถูกต้องค่ะ

ต้นไม้ที่ถูก “ไรแดง” เข้าทำลายมีลักษณะอย่างไร

 

รูปใบไม้หลังจากถูกไรแดงเข้าทำลาย


รูปนี้เป็นการเข้าทำลายของ ไรแดง จนใบไม้ม่สามารถสังเคราะห์แสงได้อีกต่อไป จะสังเกตุเห็นว่าสีใบอ่อนลง เริ่มมีอาการใบไหม้จากขอบใบ ลักษณะนี้ถ้าหาไรแดงหน้าใบไม่เจอ ให้พลิกดูที่หลังใบจะเจอไรแดงจำนวนมากอยู่ด้านหลังใบ

 


รูปนี้เป็น ไรแดง บนอโลคาเซียนะคะ จะเห็นว่าสีใบซีดจางลงกว่าปกติที่เค้าจะเป็นใบเงา ๆ มัน ๆ และเริ่มมีอาการขอบใบไหม้ให้เห็นค่ะ

การกำจัดไรแดง

ไรแดง เป็น “แมง” ชนิดหนึ่งไม่ใช่แมลง ทำให้ยาฆ่าแมลงไม่สามารถกำจัดไรแดงได้ และยาฆ่าแมลงก็จะยิ่งไปทำลายแมลงอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อย่างด้วงเต่าสตีธอรัสที่กินไรแดงเป็นอาหาร การพ่นยาฆ่าแมลงจึงส่งผลให้ไปทำลายศัตรูตามธรรมชาติของไรแดงเข้าไปใหญ่

 

การพ่นยากำจัด ไรแดง

การพ่นยาเป็นการกำจัดไรแดงที่แน่นอน หากใช้ยาถูกประเภท และรู้จักการออกฤทธิของยาดี ทั้งนี้การพ่นยาฆ่าแมลงและยาเคมีอื่น ๆ อยากแนะนำให้ทุกท่านอ่านฉลากยาให้ครบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การพ่นยาควรพ่นช่วงเย็นจะดีที่สุด เนื่องจากยาบางตัวอาจทำให้ใบไหม้ได้ง่ายเมื่อโดนแสงแดดแรง ๆ พบว่าเคสที่พ่นยาช่วงเช้า เจอปัญหาใบไหม้บ่อยกว่าพ่นยาช่วงเย็น พ่นยาตามโดสห้ามเกินเด็ดขาด สำหรับโม สารเคมีโมจะพ่นทุก ๆ  3-4 อาทิตย์ หรือตามที่ฉลากกำหนดค่ะ การพ่นสารเคมีไม่ควรพ่นตัวเดียวเป็นระยะเวลานาน ควรพ่นสลับกันป้องกันการดื้อยา และควรหลีกเลี่ยงยาที่มีตัวย่อสารสำคัญที่ฉลากว่า EC เนื่องจากอาจจะทำให้ยอดอ่อนเสียหายได้ค่ะ (พวก SC , SL , WP และ WG สามารถใช้ได้ค่ะ)


 

การพ่นยากำจัดไรแดง สามารถลดจำนวนและกำจัดไรแดงได้ แต่ส่วนของใบที่เสียไปได้จะไม่สามารถทำให้กลับมาปกติได้อีก วิธีสังเกตุว่าไรแดงตายคือ ตัวของ ไรแดง จะมีสีเข้มขึ้น อาจเป็นสีน้ำตาล และฝ่อลง ไม่เดิน ไม่ขยับ

ยากำจัดไรแดงที่แนะนำ มีตัวยาอยู่ 2 ชนิดคือ

ยากำจัดไรแดง ประเภทไม่ดูดซึม

เช่น ทีบูเฟนไพเรด (Tebufenpyrad)  ไพริดาเบน (Pyridaben) และ เฟนไพโรซิเมท (Fenpyroximate) โดยยา 2 ตัวนี้เป็นยากำจัดไรแดงแบบพ่นใส่ตัว แต่จะไม่สามารถกำจัดไข่ของไรแดงได้ ทำให้ต้องพ่นซ้ำหลังจากพ่นครั้งแรก 5-10 วัน หรือเมื่อยังเจอตัวอยู่ แนะนำให้พ่นยาช่วงเย็น เนื่องจากหากพ่นตอนที่มีแดด จะทำให้ใบไหม้ยา และใบจะเสียหายหนักกว่าเดิม ไม่ควรผสมยาเกินโดส เพราะอาจทำให้ยอดอ่อนของต้นไม้เสียหายได้ 

ตัวอย่างยาประเภทนี้ได้แก่ ออทุส ไพรีด้า ไลเจอร์ส ไพริดาเบน ซันออไมท์ ไคร่า และอื่น ๆ

ออทุสและซันออไมท์จะใช้กันแพร่หลายมาก ตามโดสจะไม่เจอปัญหาใบไหม้ค่ะ

 

ยากำจัดไรแดง ประเภทดูดซึม

สไปโรมีซีเฟน (spiromesifen) เป็นตัวยาที่พืชสามารถดูดซึมเข้าทางราก ใบ และทำให้พืชเป็นพิษ สามารถกำจัดไรแดงได้ทุกวัย ทำให้การฉีดพ่นเพียงครั้งเดียวก็เอาอยู่ ราคาจะสูงกว่าแบบไม่ดูดซึม

ตัวอย่างยาประเภทนี้ได้แก่  โอเบรอน

สำหรับการผสมยา หากไม่มั่นใจว่าครบโดส หรือเกินโดสไหม หรือกะปริมาณยาไม่ถูก สามารถเอาฉลากยามาดู และคำนวนได้ที่ หน้าคำนวนอัตราส่วนอาหารทางใบ ปุ๋ยและยา ได้เลยนะคะ

การใช้เชื้อรากำจัดไรแดง

เป็นวิธีที่แนะนำสำหรับคนที่มีสัตว์เลี้ยงหรือมีบ่อปลา เพราะเป็นวิธีที่ไม่ใช้สารเคมี และเชื้อราเหล่านี้ก็ไม่อันตรายกับสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ เชื้อราที่เราใช้กำจัดแมลงและไรแดงได้จะมีพวก เมธาไรเซียม บิวเวอเรีย พาซิโลมัยซิส และอื่น ๆ เนื่องจากเป็นเชื้อรา การฉีดพ่นจะแนะนำให้ฉีดช่วงที่ไม่มีแสงแดด หรือคือช่วงเย็นนั่นเอง อากาศที่เย็นและชื้น แถมมืด ๆ คือสภาพแวดล้อมที่เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีมาก ๆ เชื้อราพวกนี้จะไปเจริญเติบโตบนตัวของแมลง ทำให้แมลงติดเชื้อและตายไปในที่สุด เราจะเห็นวิธีนี้ได้ในเกษตรอินทรีย์ เชื้อราพวกนี้เราสามารถซื้อหัวเชื้อมาเพาะเพื่อใช้ต่อในครั้งต่อไปได้อีกด้วย

ตัวชีวภาพที่แนะนำเลยจะเป็นตัวบิวเวอร์เรียนะคะ จะมีของทาง SV Biotech ซึ่งเป็นบริษัททำเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ยาใช้กับผักกินใบ ที่ปลอดภัยไม่อันตราย สายธรรมชาติค่ะ จะมีพวกไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม เชื้อบีที และอื่นๆ อยากได้อะไรจิ้มชื่อในนี้เลยค่ะ ชอบมีโปรด้วยค่ะ สำหรับไรแดงให้จิ้มซื้อตัวบิวเวอร์เรียค่ะ มี 2 ตัวคือ

รูปการเข้าทำลายแมลงโดยเชื้อรา จะสังเกตุเห็นเส้นใยสีขาวบนตัวแมลงค่อยเจริญเติบโตขึ้น โมนำรูปภาพมาจากงานวิจัยหนึ่ง ขออนุญาตใส่แหล่งอ้างอิงไว้ให้เลยเผื่อใครอยากนำไปหาข้อมูลต่อค่ะ Source: Goettel, Mark & Eilenberg, Jørgen & Glare, Travis. (2005). Entomopathogenic fungi and their role in regulation of insect populations. Comprehensive Molecular Insect Science. 6. 361-406.

 

การใช้น้ำฉีดพ่นใส่ตัว ไรแดง

เราจะพบ ไรแดง ระบาดหนักในช่วงหน้าแล้ง หรือช่วงที่ไม่มีฝน เนื่องจากไรแดงไม่ชอบน้ำเอามาก ๆ ค่ะ เมื่อฝนตกหนัก ๆ และมีหยดน้ำบนใบ ไรแดงสามารถจมหยดน้ำตายได้เลยค่ะ (น่าสงสารมาก 555) หากเราไม่ชอบการใช้ยาหรือสารเคมี สามารถใช้น้ำฉีดพ่นใส่ใบไล่ไรแดงไปได้ค่ะ แต่ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าการใช้ยา อีกทั้งยังไม่สามารถคุมการแพร่ระบาดได้อย่างจริงจัง แต่พอถูไถไปได้ค่ะ ถ้าพ่นได้บ่อยก็เอาออกได้มาก

ค่ะ

 

การใช้สก็อตเทปไล่แปะ

ฟังดูเหมือนพูดเล่น แต่ทำได้จริง ๆ ค่ะ สำหรับต้นไม้ต้นไหนที่เราไม่อยากพ่นยา หรือไม่แน่ใจว่ายาที่พ่นอาจทำให้ใบเสียได้หรือไม่ เราสามารถใช้สก็อตเทป ค่อย ๆ ไล่แปะไรแดงออกจากใบไม้ของเราได้เลย เทคนิคของโมคือใช้เทปอันเล็ก ๆ ตามรูปค่ะ อาจจะใช้มือเรานี่แหละทับ ๆ ให้หายเหยียวก่อนใบจะได้ไม่เสียติดไปกับเทป แล้วจึงนำมาแปะทับตัวไรแดง นอกจากไรแดงติดมาแล้ว ยังมีแมลงอื่น ๆ หรือเศษดินติดมาด้วย วิธีนี้ขอแนะนำสำหรับคนที่มีเวลานะคะ เพราะเป็นวิธีที่เสียเวลามาก ๆ (แล้วแนะนำเพื่อ) ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความขยันค่ะ แต่แบบนี้ไม่ต้องใช้สารเคมีเลย แปะเสร็จเอาน้ำพ่นช่วยค่ะ วันต่อมาค่อยมานั่งแปะใหม่ค่ะ ให้ระวังใบขาดติดมือน

ะคะ

 

การปล่อยแมลงเต่าทอง

…ค่ะ ฟังไม่ผิดค่ะ ข้อนี้แนะนำให้ปล่อยเต่า แมลงเต่าทอง หรือด้วงเต่า Stethorus Siphonulus เป็นศัตรูตัวฉลาดของไรแดง และเพลี้ยทั้งหลายแหล่ค่ะ เรียกว่าเป็นหายนะของไรแดงเลยก็ว่าได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ธรรมชาติจัดการกับธรรมชาติ ให้เค้ารักษาสมดุลกันเองค่ะ แต่ทันใจต้นไม้ด่างของเราไหม อาจจะไม่ทันใจค่ะ แต่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมจำนวนของไรแดงได้ดี เราเรียกแมลงที่จัดการกับศัตรูพืชของเราว่าตัวห้ำค่ะ สามารถหาข้อมูลต่อได้นะคะ แต่ถ้าใครที่พ่นยาฆ่าแมลงเป็นประจำจะไม่แนะนำค่ะ เพราะเค้าจะอยู่ไม่ได้และตายหมดค่ะ ใครอยากลองวิธีนี้ หาซื้อเจ้าด้วงเต่าได้ที่ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคกลาง น

ะคะ

รูปนี้เป็นวงจรชีวิตของด้วงเต่าตั้งแต่เป็นไข่นะคะ ซึ่งน้องด้วงเต่า Stethorus Punctillum สามารถไล่เก็บไรแดงและเพลี้ยต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นเครื่องจักรสังหารไรแดงตั้งแต่ออกไข่ยันโต Source: David R. Gillespie – Applied Bio-nomics (anatisbioprotection.co

m)

 

รูปนี้เป็นรูปการนำแมลงเต่าทองมาปล่อยในสวน เพื่อให้จัดการกับไรแดง ถือวง่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ต้องไม่คาดหวังมาก ปล่อยเป็นธรรมชาติ สำหรับใครที่อยากลองไปหาซื้อกันได้ที่ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคกลางนะคะ



การป้องกัน ต้นไม้ ของเราจาก  ไรแดง

เนื่องจากช่วงหน้าแล้ง จะเป็นช่วงระบาดหนัก ๆ ของเขา ให้เราทำตามนี้บ่อย ๆ เพื่อลดโอกาสที่ไรแดงจะเติบโตและทำลายต้นไม้ของเราค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ ไรแดง ศัตรูพืชตัวฉกาจ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อยนะคะ ขอให้ต้นไม้ของทุกท่านสุขภาพดีสวยงามห่างไกลโรคภัยและไรแดง โมเพิ่งเริ่มทำบทความ สามารถคอมเมนต์ให้คำแนะนำกันได้เลยนะคะ ครั้งต่อไปโมจะได้เขียนให้ดีขึ้น ใช้ภาษาให้ถูกต้องขึ้นค่ะ ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามค่ะ

 

รักกันชอบกันติดตามกันได้ในเพจ Leafy Monster นะคะ โมมีโพสความรู้การดูแลต้นไม้มากมายแปะไว้ให้ค่า