ใบช้ำน้ำ เป็นอาการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบเริ่มมีลักษณะอ่อนตัวลง อาจมีสีผิด และเสียสภาพไปอย่างรวดเร็ว เป็นลักษณะคล้ายใบไหม้เป็นจุดเป็นดวง เกิดบริเวณปลายใบ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบ
อาการช้ำน้ำในไม้ด่าง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ป้องกันได้บ้าง
บริเวณที่มีความด่างมาก หรือเผือกมาก จะเป็นบริเวณที่มีคลอโรฟิลล์อยู่น้อย ทำให้ใบไม่มีรงควัตถุมาปกป้องเซลล์จากแสงแดด และจะเป็นส่วนที่อ่อนแอบอบบางสำหรับต้นไม้ ทั้งจากแสงเอง เชื้อรา สภาพอากาศและการคายน้ำที่มากเกินไป
รูปใบช้ำน้ำของอิพิด่างขาว ต้นอิพิ 2 ใบนี้อายุประมาณ 2 เดือนได้แล้ว เนื่องจากต้นเขาแข็งแรงมาก ๆ จึงทำให้ช้ำน้ำยากขึ้น ต้องรอใบมีอายุมาก ๆ ก่อนจึงจะเริ่มเห็นอาการช้ำน้ำ ซึ่งเป็นปกติของไม้เผือกหรือไม้ที่มีความด่างมาก ๆ ค่ะ
โดยคร่าว ๆ ใบช้ำน้ำเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกันไม่ว่าจะเป็นระบบรากที่ยังไม่แข็งแรงดี ระบบปลูกที่มีความแฉะ แน่น ไม่ระบายน้ำ สภาพแวดล้อมที่อบร้อน ไม่มีอากาศศถ่ายเท หรือแม้แต่อุณหภูมิและความชื้นที่แกว่งขึ้นลงจนต้นไม้ปรับตัวไม่ได้และอ่อนแอลง โมจะเรียบเรียงอย่างละเอียดเป็นข้อย่อยให้เห็นภาพชัด
ใบมีอาการเป็นวงช้ำ ใสๆ ใบเปื่อยไป ใบนิ่ม อาการเหล่านี้คืออาการใบช้ำน้ำ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ ช้ำน้ำจากการคายน้ำ อากาศร้อนจัด อากาศไม่ถ่ายเท อุณหภูมิ สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงกระทันกันการรดน้ำที่มากเกินความจำเป็น และระบบรากที่ยังไม่แข็งแรงดี
โดยเฉพาะบริเวณปลายใบ ในบริเวณใบเผือกหากต้นไม้อ่อนแอ จะช้ำน้ำง่ายกว่าส่วนอื่นๆ เกิดขึ้นเมื่อระบบรากพืชไม่แข็งแรง เช่น
ในไม้อนุบาลเนื้อเยื่อเนื่องจากระบบรากมีน้อยและอ่อนแอ
ไม้ข้อปักชำ บางครั้งจะเห็นอาการช้ำน้ำในถุงอบ เนื่องจากไม้ข้อชำจะยังไม่มีราก หรือมีรากสำหรับดูดอาหารน้อย
ไม้ที่ระบบรากถูกสารเคมีทำลาย เช่นการรดน้ำส้มควันไม้ผิดอัตราส่วนลงดิน รวมไปถึงยาฆ่าราต่าง ๆ ก็เช่นกัน (เกินขนาด)
ไม้ที่เราเพิ่งรื้อกระถางหรือเปลี่ยนกระถางโดยการล้างราก เนื่องจากมีการสูญเสียปลายราก หรือระบบรากฝอยต่าง ๆ
ท่านใดที่ยังสงสัยเรื่องการอบต้นไม้ สามารถอ่านเรื่อง อบไม้ ทำไมต้องอบไม้ อบไม้อย่างไร และคำถามที่เจอบ่อย ได้เลยนะคะ เรียบเรียงไว้ให้อย่างครบเครื่องค่ะ
จากที่โมเจอมาพบว่าไม้ทุกอย่างมีโอกาสช้ำน้ำได้หมด เช่น
ในไม้เนื้อเยื่อ หากมีน้ำขังบนใบในช่วงที่อากาศร้อนจัด และใบนั้นเป็นใบด่าง จะพบว่าใบจะเปลี่ยนเป็นนิ่ม ๆ ใส ๆ และช้ำน้ำละลายไป
และเช่นกันในไม้เนื้อเยื่อ แม้จะเป็นใบเขียว แต่ถ้าให้น้ำมาก แล้วร้อนอบ ใบก็สามารถเปลี่ยนเป็นใบนิ่มเละ และละลายไปพร้อมๆกับเชื้อราเข้าทำลาย
อิพีด่างขาว เงินไหลมาด่างขาว พบว่าเมื่ออากาศร้อนอบไม่ถ่ายเท ส่วนที่จะช้ำไวที่สุดคือขอบใบที่ด่างจัดๆ หรือตรงกลางใบที่เผือก ด่างขาว
อโลคาเซีย ส่วนมากจะพบอาการช้ำน้ำจากปลายใบขึ้นไป ตามด้วยจากขอบใบเข้ามา
ใบนี้บริเวณที่เป้นสีขาวเผือกช้ำน้ำและลุกลามไหม้ละลายหายไปหมดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีช่วงที่อากาศร้อนจัดกว่าปกติ และโมตัดต้นไม้ใหญ่เพิ่ม (ที่พรางแสงให้อยู่) ทำให้อากาศร้อนกว่าเดิมมาก การแกว่งของอุณหภูมิและความชื้น จะมีผลต่อความแข็งแรงของต้นไม้โดยตรง โดยเฉพาะใบที่เผือกจะเจอปัญหามากกว่าใบเขียวที่แข็งแรง การรักษาใบช้ำน้ำลักษณะนี้ เล็มออกได้แต่ไม่ต้องทาปูนแดงนะคะจะลามค่ะ
การส่งพัสดุต้นไม้ เราจะพบว่าต้นไม้เคยโตและปรับสภาพอยู่กับแม่ค้าที่อุณหภูมิและความชื้นที่เขาเลี้ยงมา ก่อนที่จะเปลี่ยนมาอยู่ในกล่องที่อาจจะร้อนอบและมืด จนกระทั่งถึงมือลูกค้าที่บริเวณปลูกเป็นอีกสภาพแวดล้อมหนึ่ง ต้นไม้จะต้องปรับตัวไปมามากกว่า 2 ครั้ง ทำให้ระบบรากอาจเสียหาย หรือตัวต้นไม้เองอ่อนแอลง เราจึงพบว่าตอนอยู่กับแม่ค้าเลี้ยงดีจัง แต่พอเราซื้อมาทำไมช้ำบ่อยจัง ซึ่งจริงๆไม่ใช่ว่าเราเลี้ยงไม่เก่งค่ะ แต่เป็นเพราะต้นไม้ต้องปรับสภาพกับสถานที่ใหม่ และต้องการการดูแล และสังเกตุอาการในช่วงแรกๆมากกว่าต้นไม้ที่มีอยู่แล้ว
การยกเข้าออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือการเปิดปิดแอร์ที่อุณหภูมิและความชื้นระหว่างช่วงที่เปิดและช่วงที่ปิดแอร์แตกต่างกันมากเกินไป
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างเฉียบพลัน เช่นเมื่อช่วงใกล้ๆปลายปี จะมีฤดูหนาวเข้ามา (เข้ามา 3 วันแล้วจากไป…) เราจะพบว่าต้นไม้หลายประเภทมีอาการปลายใบเสีย และบางต้นช้ำน้ำง่ายขึ้นแค่ช่วงนั้นค่
ะ
ใบช้ำน้ำจากวัสดุที่แฉะมากเกินไป หรือเคยเลี้ยงมาแห้ง แล้วอยู่ดี ๆ พาไปที่ชื้นและร้อนจัด ก็จะแสดงอาการทันที ใบจะค่อย ๆ ใสขึ้น นิ่มขึ้น และละลายไปค่ะ
รดน้ำมากเกินไป (Overwatered) หรือบ่อยเกินไป และต้นไม้เปียกชุ่มเป็นเวลานาน
การรดน้ำช่วงเย็น หากเรารดมากไป ต้นไม้จะชื้นแฉะไปตลอดทั้งคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น้ำระเหยออกได้น้อยกว่ากลางวัน การรดน้ำกลางคืนจึงเป็นช่วงที่อาจทำให้ต้นไม้มีโอกาสป่วยจากเชื้อรา รากเน่า และช้ำน้ำได้มากกว่าการรดน้ำช่วงเช้า เพราะช่วงเช้าเรารดพลั้งมือไป แต่อย่างน้อยน้ำก็ระเหยออกได้ไวกว่าค่ะ (ช่วงกลางวันมีทั้งแสงแดด และลมมากกว่ากลางคืน)
การใช้วัสดุปลูกที่อุ้มน้ำมากเกินไปในต้นไม้ที่ไม่ชอบความแฉะ
การมีน้ำขังในจานรอง สำหรับต้นไม้ที่ไม่เคยเลี้ยงเปียกๆมาก่อน แล้วอยู่ดี ๆ มีน้ำขังในจานรอง จะพบว่าใบจะช้ำน้ำง่ายมาก ๆ บางต้นแทบจะในทันทีค่ะ โมเจอบ่อยในมอนไทคอน อัลโบ้ต่างๆ ที่ตอนแรกเลี้ยงระบายน้ำดี แล้วสักพักนึงฝนตก น้ำขังจานรอง ใบก็ช้ำไปเลยในวันเดียวกันนั้นค่ะ (ก้นกระถางแฉ
ะ)
ไม่ว่าเราจะเลี้ยงประคบประหงมดูแลรักษาเค้าไว้ดีแค่ไหน สุดท้ายเมื่อถึงเวลาทิ้งใบเค้าก็จะไปไวกว่าใบเขียวอยู่ดี สำหรับต้นไม้นั้นใบเขียวๆ ถ้าต้นสมบูรณ์จะใช้เวลานานมากๆกว่าจะเริ่มทิ้งใบ แต่สำหรับใบเผือก หรือใบที่ด่างมากกว่าปกติ มักจะมีปัญหามารุมก่อน จึงทำให้ทิ้งใบไปค่ะ อย่างรูปนี้เป็น Philodendron White Wizard ต้นลุ้นเขียวของโมเองค่ะ
เมื่อระบบรากของพืชยังไม่แข็งแรงดี เราจะพบว่ามักเกิดอาการช้ำน้ำได้ง่ายกว่าต้นที่เลี้ยงมาดี รากดีแล้ว เราจะพบว่าต้นไม้ที่พบอาการรากเน่า มักจะประสบปัญหาใบช้ำน้ำ เชื้อราเข้าทำลายใบด้วยเช่นกัน เนื่องจากหากรากไม่ดี ต้นไม้จะไม่สามารถหาอาหารและควบคุมแรงดันน้ำได้อย่างเหมาะสม การคายน้ำก็จะยากลำบากไปด้วย
แม้ว่าเราจะเลี้ยงดูเค้ามาดีมาก แต่ไม้ที่ใบเผือกมากๆ ไม่ช้ำวันนี้ ก็อาจช้ำวันหน้าได้ค่ะ
ใบล่างๆ ที่เผือก หรือด่างจัดๆ มีโอกาสเกิดอาการช้ำน้ำสูง เนื่องจากเป็นใบที่อยู่มานานแล้ว มีอายุมาก จะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้เท่าใบใหม่ๆที่เพิ่งเปิด และธาตุอาหารบางตัวที่เคลื่อนย้ายได้ ถูกย้ายไปยังใบใหม่เมื่อต้นไม้ขาด หรือเมื่อกำลังจะทิ้งใบ
เราไม่สามารถทำให้ใบที่ช้ำไปแล้วหายได้ แต่เราสามารถแก้ไขวิธีการเลี้ยงและการดูแลให้ต้นไม้ช้ำน้ำน้อยลงได้
อาจจะเล็มบางส่วนออกสำหรับต้นที่ช้ำน้อย
อาจตัดทิ้งไปเลยทั้งใบสำหรับใบเผือก เพราะเป็นใบที่ไม่สำคัญต่อการสร้างอาหาร (มีแต่ดูดอาหารไปใช้)
ไม่ต้องทาปูนแดง เนื่องจากจะทำให้ลามกว่าเดิม (ปูนแดงเอาไว้ใช้ทาแผลตัดชำข้อ หรือตัดราก)
หากกลัวราเข้าทำลาย ตัดแล้วสามารถพ่นยาฆ่าราประเภทต่างๆ
ได้
ต้นนี้เป็นอิพิด่างขาว ที่เพิ่งชำข้อมาลงและแตกหลอดออกไป จจะพบว่าแรกๆที่รากยังไม่สมบูรณ์เข้าที่ ใบจะช้ำง่ายกว่าต้นที่ปลูกมานานแล้ว และระบบรากแข็งแรงค่ะ การเลี้ยง บำรุง ดูแล ในที่ๆมีสภาพอากาศความชื้น และอุณหภูมิที่คงที่ จะทำให้ต้นไม้ตั้งตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น
ลองหาบริเวณเลี้ยงที่สามารถตั้งเค้าไว้นิ่งๆได้ตลอดไม่ต้องย้ายที่
เลี้ยงในบริเวณที่อากาศถ่ายเทดี
อุณหภูมิและความชื้นคงที่ ของโมเลือกใต้ต้นไม้ และพื้นโรงเรือนปูด้วยอิฐ (พยุงความชื้นดี)
ในขณะที่มีใบช้ำ ควรมีการพ่นยาฆ่าเชื้อรา (จางๆบางๆ) เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อรา ซึ่งจะทำให้บริเวณที่ช้ำลุกลามไวขึ้น
บริเวณที่ใบช้ำ จะเป็นบริเวณที่เปิดโอกาสให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้าจู่โจมต้นไม้ได้ที พยายามให้อากาศถ่ายเทเข้าไว้ เพราะเชื้อราจะเติบโตยากขึ้นค่ะ
ไม่ควรซ้ำเติมอาการป่วยด้วยสารจับใบที่ทำลายไขใบไม้ หรือสารเคมีที่อันตรายต่อใบเกินไป ถ้าไม่แน่ใจให้ใช้โดสตามฉลากหรือน้อยกว่า
ยาฆ่าราที่โมใช้แล้วดี มีประมาณนี้ค่ะ
ฟังกูราน บาโอเวน พวกนี้เป็นยากำจัดเชื้อราแบบสัมผัส เป็นพวกทองแดง ออกฤทธิ์ให้ความร้อน พ่นได้บ่อย อย่าพ่นช่วงมีแดดนะคะ แนะนำให้พ่นช่วงเย็นๆค่ะ ซื้อได้ที่ Shopee จิ้มที่ชื่อข้างล่างนี้ค่ะ
ไซมอกซามิล+แมนโคเซ็บ ตัวนี้ดีงาม มีทั้งตัวยาแบบสัมผัส และตัวยาดูดซึมในกล่องเดียวค่ะ เป็นผงมีกลิ่นแรงหน่อยนะคะ แต่ใช้ดีค่ะ ซื้อได้ที่ Shopee จิ้มที่ชื่อข้างล่างนี้ค่ะ
แคปเทน แคปทาไซด์ต่างๆ พวกนี้ใช้ง่ายหาซื้อง่าย ร้านต้นไม้ทั่วไปมีหมดค่ะ
สำหรับการผสมยา หากกะไม่เป็น ไม่ค่อยมีอุปกรณ์วัดตวง สามารถไปคำนวณได้ใน คำนวนอัตราส่วนอาหารทางใบ ปุ๋ยและยา ในหน้านี้โมมีทั้งกล่องคำนวนแบบผงและแบบน้ำ สามารถเลือกใช้ได้เลยค่ะ คำนวนออกมาง่ายๆเป็นหยดเป็นช้อน เหมาะสำหรับสายรีบ สายขี้เกียจวัดตวงเช่นโมเองค่ะ
5555
เมื่อมีอาการใบช้ำน้ำ อาจพบว่ามีเชื้อราหรือแบกทีเรียเข้าทำลายด้วย เนื่องจากบริเวณที่ช้ำน้ำ เป็นบริิเวณที่เซลล์ของต้นไม้เสียหายและบอบบาง เปิดโอกาสให้จุลินทรีย์อื่นๆเข้ามาหากิน และทำลายได้ง่าย จึงควรพ่นยาฆ่าราบางๆป้องกันไว้ด้วยค่ะ
เช็คอย่าให้วัสดุแฉะเกินไป
ให้น้ำเมื่อวัสดุปลูกหรือดินปลูกแห้งลงเท่านั้น
การให้น้ำ ให้ตอนเช้าจะดีที่
สุด
สำหรับต้นที่โมชำข้อเพื่อตัดขยาย โมจะใช้วัสดุปลูกที่ไม่แพงมาก แต่มีคุณสมบัติโปร่งระบายน้ำได้ดี ตอนเราเอาออกมาจากที่อบให้เราเลี้ยงชื้นๆไว้ก่อน วัสดุปลูกยังคงเป็นเพอร์ไลท์+พีทมอส แต่เมื่อพักได้ระยะแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นกาบมะพร้าวสับ เพอร์ไลท์ หินภูเขาไฟ เพื่อเพิ่มความโปร่งระบายน้ำ เน้นโปร่งไว้ก่อนจะปลอดภัย เพราะเราจะไม่ต้องกลัวพลั้งมือรดน้ำเยอะเกินไปค่ะ
เพอร์ไลท์/เวอร์มิคูไลท์ เพราะอุ้มความชื้นและระบายน้ำได้ดี (แต่เวลาแห้งก็แห้งเลยโดยเฉพาะผิวดิน)
หินภูเขาไฟ เลก้าบอล ช่วยให้มีช่องว่างระหว่างวัสดุปลูกมากขึ้น ทำให้รากเดินได้ดีแข็งแรง
ระวังอย่าให้รากขาดมาก และไม่ควรล้างราก เนื่องจากระบบรากที่แย่ลง จะทำให้อาการช้ำน้ำเกิดมากขึ้น และลามไวค่ะ
โมทำโพสต์อธิบายวัสดุปลูกแต่ละตัวไว้อย่างละเอียด เดี๋ยวพอสอบ Final เสร็จโมมาลงในเว็บไซต์ให้นะคะจะได้อ่านง่ายขึ้นค่ะ
ในต้นไม้ที่มีความด่าง ความเผือกมาก อาการช้ำน้ำก็แทบจะเป็นอาการที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถบำรุง ดูแล เลี้ยงดูให้ต้นไม้แสดงความสวยออกมานานๆ ก่อนที่ใบเผือก หรือใบที่ด่างมากนั้นจะเริ่มช้ำเริ่มเสียได้ ดังนี้
โมพบว่าต้นไม้ที่อยู่กับเรามานาน เติบโตดี เปิดใบรวดเร็ว แทบจะไม่ช้ำน้ำเลยถ้าไม่ใช่ใบเก่า ๆ ที่มีอายุมากแล้ว หากเราบำรุงดี วัสดุปลูกโปร่งๆดีๆ ระบบรากแข็งแรงมากแล้ว รดน้ำเท่าไหร่ก็แทบจะไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น ตากฝนก็ยังได้ เพราะโมมีอิพิด่างขาวที่เลี้ยงตากแดดบ่าย และตากฝน 100% อยู่ แต่ใบสมบูรณ์แข็งแรงมากๆอยู่ค่ะ โมพบว่าระบบรากเค้าแน่นมาก โตไว จากการบำรุงอย่างพ
อดีค่ะ
อิพิที่บ้านค่ะ ต้นนี้แดดฝนมาเต็ม ดูแลระบบรากดีๆ วัสดุปลูกโปร่งๆระบายน้ำ ใบจะแข็งแรงค่ะ รอตอนใบเค้าหนาขึ้
นนะคะ
โรงเรือนของโมเองค่ะ เน้นอากาศถ่ายเท ร่มเย็น คุมความชื้นดี ป้องกันแมลงได้ พื้นใช้อิฐ เพราะเมื่อโดนน้ำแล้วเค้าจะเย็นค่ะ อีกทั้งยังคุมความชื้นในโรงเรือนได้ดีด้วย
ไม่ควรยกเข้าออกบริเวณบ้านส่วนต่างๆบ่อยเกินไป หรือเปลี่ยนอุณหภูมิและความชื้นไวเกินไป เช่น กลางวันร้อนมาก ชื้นมาฝนตก ส่วนกลางคืนเปิดแอร์ อากาศแห้งมาก การเหวี่ยงสวิงของอุณหภูมิและความชื้นแบบนี้ ทำให้พืชอ่อนแอ ส่งผลให้โรคต่างๆเข้าทำลายพืชได้
ง่ายขึ้น
อิพิด่างขาว (Epipremnum) 2 ต้นนี้มีใบที่ขาวเผือกมาก ถ้ากลัวว่าวันไหนแดดจะแรงผิดปกติมาเก็บไม่ทัน ก็สามารถหันด้านที่มีสีขาวออกจากแดดไปได้เลยค่ะ หมุนด้านเขียวๆหาแดดไว้ตลอดแทน เพราะใบสีขาวไม่ได้สร้างอาหารให้พืชอยู่แล้วค่ะ
ใบเผือกนอกจากจะช้ำน้ำง่ายแล้ว ยังไหม้ง่ายอีกด้วย และไม่มีเหตุผลอะไรที่ใบขาวๆของน้องจะต้องใช้แสง เพราะใบขาวไม่สามารถสร้างอาหารได้อยู่แล้วค่ะ เอาหลบๆแสงไปได้เลย
หรือตามขนาดของต้นไม้ วัสดุบางอย่างอย่างกาบมะพร้าวเมื่อครบ 6 เดือนอาจต้องเปลี่ยนบ้างหากมีการหมดอายุ สำหรับการแนะนำวัสดุปลูก โมได้ทำบทความอธิบายไว้มากมาย เลือกดูได้ในนี้ค่ะ
สำหรับ Philodendron โมได้รวบรวมสูตรวัสดุปลุกจากเซียนนักปลูกเก่งๆ ไว้ใน สูตรปลูก 8 เซียน Philodendron Pink Princess และสำหรับ Syngonium โมได้รวบรวมเอาไว้ใน เงินไหลมาด่างขาว-สูตรปลูกเพื่อตัดขยายทำกำไร และ ดินปลูก Syngonium Milk Confetti สุดท้าย มีวัสดุปลุกที่แนะนำสำหรับบอนสีอยู่ใน ดินปลูกบอนสี 4 แบบ อย่างละเอียด ! นะคะ
ในต้นที่เราไม่มั่นใจว่าแข็งแรงดีไหม เนื่องจากจะเกิดน้ำขังแฉะในกระถางได้ แต่น้ำตกโดนใบแรงๆ ไม่ได้ทำให้ใบช้ำน้ำนะคะ สามารถรดน้ำโดนใบได้ค่ะ (อย่ารดใส่ใบตอนอากาศร้อนจัดๆแดดแรงๆก็พอค่ะ เพราะถ้าน้ำขังใบเผือกจะเสียได้เลย)
ใบช้ำน้ำอาจบ่งบอกว่าต้นไม้เรากำลังอ่อนแอจากโรคอื่นๆได้เช่น รากเน่า รากติดเชื้อแบคทีเรีย หากมีปัญหาระบบราก สิ่งที่ฟ้องดีที่สุดคืออาการทางใบต่าง ๆ รวมไปถึงอาการบางอย่างที่ลักษณะคล้ายใบช้ำน้ำ แต่ไปๆมาๆต้นเหตุดันเกิดจากแมลงก็มีค่ะ ถ้าใบผิดปกติก็ให้ไล่ไปทีละข้อๆ เช็คไปเลยทุกข้อค่ะ ระบบปลูกแฉะไหม หลอดใหม่เป็นยังไง กางได้ไหม หรือใบยับ และสุดท้ายคือเช็ครากับแมลงค่ะ
เสริมความรู้น่ารู้หยดน้ำปลายใบ พร้อมคำศัพท์ให้ไปศึกษากันต่อง่ายๆ
หยดน้ำปลายใบนั้นเกิดได้กับพืชหลายชนิดที่มี hydathrode (รูหยาดน้ำ) ซึ่งรูหยาดน้ำนี้จะอยู่บริเวณปลายใบและขอบใบตามเส้นใบไม้ ตัวรูหยาดน้ำจะทำหน้าที่ระบายน้ำบางส่วนออก มีการเปิดปิดอย่างอิสระไม่เกี่ยวกับ Stomata (ปากใบ) โดยจะมีน้ำหยดออกมาเมื่ออากาศมีความชื้นมากๆ หรือมีแรงดันน้ำในต้นมากๆ เป็นอีก 1 จุดสังเกตุว่าเราให้น้ำมากเกินไป หรืออากาศชื้นมากเกินไปนั่นเอง กระบวนการนี้เรียกว่า Guttation บริเวณใบเขียวจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่บริเวณที่ด่างหรือเผือก หากเกิดกระบวนการนี้บ่อยๆหรือเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดใบช้ำน้ำได้ และจะช้ำจากขอบใบหรือปลายใบเข้ามา ในไม้อนุบาลเนื้อเยื่อจะเห็นลักษณะของใบเปื่อยนิ่ม และเน่าไปในที่สุด
รักกันชอบกันติดตามกันได้ในเพจ Leafy Monster นะคะ โมมีโพสความรู้การดูแลต้นไม้มากมายแปะไว้ให้ค่า